เกี่ยวกับเรา



ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(child safety promotion and injury prevention research center)
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

        ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 ดำเนินงานโดยมีวัตถุประสงค์ กลยุทธ์และการดำเนินงานดังนี้

1. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ (Research to practice) นำไปสู่ 1.1 พฤติกรรมที่เสริมสร้างความปลอดภัยแก่เด็ก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม
1.2 สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ทั้งเชิงกายภาพ-เทคโนโลยี (physical and technological) และ เชิงสังคม-การเมือง-การจัดการ (social, political and organizational) โดยใช้การวิจัยสร้างองค์ความรู้

WedJuly2009164039_007

2. กลยุทธ์

2.1 เพื่อให้การดำเนินงานการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์(scientific based) มีการวิจัยที่ดีสนับสนุนทั้งด้านชีวกลไก (biomechanic) พฤติกรรมศาสตร์ (behavioural science)ระบาดวิทยา (epidemiology) ด้านคลินิก (clinical research) และงานวิจัยเชิงระบบ (system research)

2.2 เชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ โดย – สนับสนุนให้เกิดกลไกการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในระดับชุมชนเป็นหลัก (community-based injury prevention programs) โดยสนับสนุนให้ชุมชนมีความสามารถในการค้นหาปัญหาเฉพาะท้องถิ่น การวิเคราะห์การดำเนินการแก้ไข และการประเมินผล – สร้างเครือข่าย (network) เชื่อมโยงหน่วยงานรัฐ เอกชน ทั้งภาคบริการและภาคการผลิต และนักการเมือง – ใช้เทคนิคการสื่อสารความรู้ (knowledge communication techniques) ทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความตระหนักในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานโดยผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ (public media) – กระตุ้นให้เกิดการสร้างนโยบายสาธารณะ (public policy) และการดำเนินงานตามนโยบายนั้น (enforcement) 2.3 มีการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มทุน(costeffectivenessevaluation)ต่อโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บต่างๆ 2.4 สนับสนุนการฝึกอบรมนักวิจัยใหม่ด้านการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

WedJuly2009164147_002

3. การดำเนินงานและการสนับสนุน

3.1 จัดทำชุดโครงการวิจัย(researchpackage)ที่มุ่งเป้าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยชุดโครงการวิจัยนี้ขอรับการ
สนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ชุดโครงการวิจัยนี้ประกอบด้วย

o ชุดความปลอดภัยในการจราจรในเด็ก
–  ความปลอดภัยในการโดยสารจักรยานยนต์
–  ความปลอดภัยในการโดยสารรถยนต์
–  ความปลอดภัยในการโดยสารรถจักรยาน
–  ความปลอดภัยในรถโรงเรียน

o ชุดความปลอดภัยในชุมชน
–  ชุมชนปลอดภัย
–  โรงเรียนปลอดภัย (ได้รับการสนับสนุนจากสสส)
–  การป้องกันการจมน้ำในชุมชน
–  การป้องกันการถูกรถชนในชุมชน

o ชุดผลิตภัณฑ์ปลอดภัย
–  ของเล่นปลอดภัย
–  สนามเด็กเล่นปลอดภัย
–  ของใช้ทารกปลอดภัย
–  บ้านปลอดภัย
–  เครื่องใช้ในบ้านปลอดภัย

3.2 จัดตั้งเครือข่ายชุมชนปลอดภัย(safecommunity)ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บนี้เป็นการดำเนินงานเพื่อมุ่งเป้าในการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนอย่างแท้จริงโดยชุมชนที่จะเข้าอยู่ในเครือข่ายอาจเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน หรืออื่นๆ เช่น ระดับจังหวัด โรงเรียน แต่ต้องมีการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็กในชุมชน โดยชุมชนต้องแสดงถึงความตั้งใจอย่างจริงจังในการดำเนินงาน 10 ประการดังนี้

1. การจัดตั้งกลุ่มบุคคลในชุมชนเพื่อศึกษาปัญหา ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บในเด็กในชุมชน และดำเนินการป้องกัน

2. การเชื่อมโยงหน่วยงานรัฐและเอกชนทั้งภายในและภายนอกชุมชนเพื่อดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บในชุมชน

3. ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงเช่น เด็กพิการ เด็กในครอบครัวยากจน เด็กทำงาน เป็นต้น

4.ระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในเด็กในชุมชน

5.ระบบการสำรวจสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน

6.การสนับสนุนการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่างๆเช่น หมวกนิรภัย ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กในรถยนต์และรถจักรยาน อุปกรณ์ชูชีพ เครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องตัดไฟอัติโนมัติ เป็นต้น

7. การต่อต้านผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เช่นปืนอัดลม รถหัดเดิน เครื่องเล่นสนามที่ไม่ได้้มาตรฐาน การสร้างถนนในชุมชนโดยไม่มีทางเท้า การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำโดยไม่มีรั้วกั้น เป็นต้น

8. การต่อต้านพฤติกรรมอันตราย(ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก)อันจะนำไปสู่การบาดเจ็บในเด็ก เช่นเมาแล้วนำเด็กนั่งตักขณะขับรถยนต์ เป็นต้น

9.การฝึกอบรมการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก การปฐมพยาบาล การปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นในชุมชน

10.การรวบรวมความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานในชุมชนเผยแพร่สู่ชุมชนอื่นเพื่อให้ขยายผลให้เกิดการดำเนินงานการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็กในระดับชาติ

WedJuly2009164427_005

ขณะนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้ดำเนินการแล้วสองโครงการคือ โครงการโรงเรียนปลอดภัยระยะที่หนึ่ง (safe school, phade1) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 5 โรงเรียน และ โครงการ“เด็กไทยปลอดภัย” ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างชุมชนปลอดภัยสำหรับเด็ก

3.3 เชื่อมโยงเครือข่ายการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็กเฉพาะเรื่องต่างๆ (child safety network in specific injury type)เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องสู่การปฏิบัติที่แท้จริง รวมทั้งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายกฎกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยแต่ละเครือข่ายจะประกอบด้วยหน่วยงานรัฐ ผู้ผลิต ภาคเอกชนอื่นๆและ NGO
กิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายนี้ได้ขอรับการสนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ/สกวในโครงการจัดการความรู้เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก (เอกสารประกอบหมายเลข 2/ ได้รับการสนับสนุนจากสกว.ในโครงการจัดการความรู้สู่นโยบายสาธารณะ)

โดยได้ขอดำเนินการ 3 รูปแบบคือ

–  การประชุมเครือข่ายเฉพาะเรื่อง ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายรถจักรยานยนต์ เครือข่ายรถยนต์ เครือข่ายจักรยาน เครือข่ายของเล่นปลอดภัย เครือข่ายสนามเด็กเล่นเครือข่ายสวนสนุกปลอดภัยเครือข่ายบ้านปลอดภัยเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัย และเครือข่ายชุมชนปลอดภัย เพื่อนำผลการวิจัยสู่การผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ โดยผ่านเครือข่ายต่าง ๆ

– จัดให้มีกิจกรรมเชื่อมโยงและเคลื่อนไหวเครือข่าย โดยจัดตั้งการประชุมเพื่อรายงานและวิเคราะห์กรณีศึกษาทุก 2 เดือน เครือข่าย  ที่เกี่ยวข้องการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก โดยทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล กรณีเด็กตายและบาดเจ็บรุนแรงและนำเสนอ    ต่อที่ประชุมทุก 2 เดือน เพื่อให้เกิดการวิพากษ์ถึงสาเหตุปัจจัย และการแก้ไข ป้องกัน ดำเนินการเผยแพร่ผลการประชุมต่อ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อสารมวลชน (ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุข / สกว ในโครงการจัดการความรู้สู่
นโยบายสาธารณะ)

– จัดตั้งระบบข้อมูลเพื่อระดมความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จาก องค์กรต่างๆเพื่อนำมาใช้ร่วมกัน และให้ประชาชน ชุมชน สามารถเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้น

WedJuly200916461_001

 3.4 ใช้เทคนิคการสื่อสารความรู้ (knowledge communication techniques) ทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความ ตระหนักในวงกว้าง

– จัดตั้งเครือข่าย “ สื่อสารมวลชน เพื่อความปลอดภัยในเด็ก ”

– ดำเนินการร่วมกับสื่อสาขาต่างๆในการผลิตสื่อเพื่อความปลอดภัยในเด็กสู่ประชาชนโดยการป้อนข้อมูลให้สื่อเพื่อให้สื่อใช้ทรัพยากรเดิมที่สื่อมีอยู่แล้วเป็นหลัก

– จัดตั้งโครงการรณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมระดับประเทศ (national campaign) โดยการจัดตั้งโครงการ “เด็กไทยปลอดภัย” (SAFE KIDS THAILAND) ซึ่งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้ผลิต บุคคลที่มีชื่อเสียงใน    ด้านการพิทักษ์สิทธิเด็ก และนักการเมือง ใช้พลังของสื่อสารมวลชนทั้งวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ในการผลักดัน
ให้เกิดกระแส โดยศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นฝ่ายประสานงานและปฏิบัติการ (ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)

– ใช้กรณีศึกษาที่ส่งผลกระทบจิตใจของคนในสังคมผ่านพลังสื่อสารมวลชนก่อให้เกิดความตระหนักในสังคม

– ผลิตสื่อการเรียนรู้แก่เด็ก ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน องค์กร และผู้กำหนดนโยบาย

– จัดการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่ ผู้ดูแลเด็ก องค์กรท้องถิ่น โรงเรียน

IMG_6863

3.5 กระตุ้นให้มีการสร้างและการใช้นโยบายสาธารณะ (public policy) เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดย

–  ดำเนินงานให้มีการสร้างนโยบายสาธารณะ กฎหมายที่จำเป็น แต่ยังมิได้ถูกกำหนดไว้เช่นการกำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบ(product standard and test )หมวกนิรภัยสำหรับเด็กที่มีขนาดเส้นรอบวงน้อยกว่า 500 มม. มาตรฐานที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์ มาตรฐานที่นั่งและหมวกริภัยเด็กสำหรับจักรยาน มาตรฐานสนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสนาม มาตรฐานสวนสนุก   นโยบายความปลอดภัยสำหรับเด็กในโรงเรียน การกำหนดให้เด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีต้องนั่งเบาะหลังเท่านั้น เป็นต้น

–  กระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายสาธารณะที่มีอยู่ เช่น ดำเนินการให้สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมพิจารณาใช้มาตรฐานบังคับ (ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานไม่สามารถวางขายในตลาด) ได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่จะก่อเกิดอันตรายแก่เด็กเช่น ของเล่น อันตราย การสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์อันตรายแก่เด็กในตลาดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม     สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และสื่อสารมวลชน กระตุ้นให้มีการตรวจสอบและตรวจจับการไม่ใช้หมวกนิรภัยในรถจักรยานยนต์ /การให้เด็กนั่งที่นั่งตอนหน้า (เนื่องจากเด็กใช้เข็มขัดนิรภัยไม่ได้) ดังนั้นปัญหาอุบัติเหตุ

              และการบาดเจ็บจึงเป็นปัญหาที่สำคัญที่เป็นสาเหตุนำการตายในเด็กไทยในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหามากขึ้นอีกในอนาคต ประสบการณ์จากประเทศพัฒนาบ่งบอกว่าการวิจัยเพื่อให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และมีพันธะจะนำสู่การปฏิบัติ (research to practice) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และนโยบายสาธารณะการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้นั้นจำเป็นต้องมี
การให้ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง สร้างกระแสสังคม เคลื่อนไหวผู้กำหนดนโยบายในเวลาเดียวกัน

logo0
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
Child Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP)


แชร์หน้านี้